คูนิฟอร์ม (Cuneiform) หนึ่งในระบบอักษรที่เก่าแก่ที่สุดของโลก

คูนิฟอร์ม (Cuneiform) หรือ อักษรรูปลิ่ม เป็นหนึ่งในระบบการเขียนอักษรที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ตัวอย่างคูนิฟอร์มที่เก่าแก่ที่สุดในเมโสโปเตเมีย มีอายุราว 4,000 ปีก่อนคริสตกาล พบในบริเวณเมืองอูรุก (Uruk) อักษรในยุคเริ่มต้นจะเป็นในลักษณะคล้ายอักษรภาพ จากนั้นจึงพัฒนามาขึ้นเรื่อยๆจนเป็นระบบสัญลักษณ์ที่เป็นนามธรรมมากขึ้น และกลายเป็นระบบอักษรที่มีการประสมคำของสระและพยัญชนะในที่สุด โดยมีภาษาหลายตระกูล ทั้งตระกูลเซมิติก ตระกูลอินโด-ยุโรเปียน และอื่นๆอีกมาก ที่เขียนด้วยระบบอักษรนี้ ระบบอักษรคูนิฟอร์มถูกใช้อย่างกว้างขวางในโลกโบราณ จนกระทั่งระบบอักษรอีกแบบคือ อักษรฟินิเชียน (Phoenician alphabet) ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ คูนิฟอร์มจึงค่อยๆลดความนิยมลง จนเลิกใช้กันไปในที่สุด ในช่วงราวศตวรรษที่สองก่อนคริสตกาล
ตัวอย่างของอักษรคูนิฟอร์มที่ได้ถูกใช้ในจารึกที่ได้ส่งผลประโยชน์ต่อโลก คือ การสลักอักษรเป็นบทกฏหมายโบราณ คือ ประมวลกฏหมายของพระเจ้าฮัมมูราบีแห่งอาณาจักรบาบิโลเนีย คือ กฏหมาย "ตาต่อตา ฟันต่อฟัน" ที่ได้จารึกไว้บนเสาหินแกรนิตสีดำ ซึ่งเป็นประมวลกฏหมายอาญาฉบับแรกของโลก